ข้ามไปยังเนื้อหา
ทางเราจะหยุดทำการเนื่องในวันหยุดชดเชยวันวิสาขบูชา วันที่ 12 พฤษภาคม 2568 ออเดอร์ที่สั่งซื้อหรือการติดต่อสอบถามในวันดังกล่าว จะเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคม 2568 ขอขอบคุณทุกท่านสำหรับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง

ภาษา

กว่าจะเป็นเบียร์ให้เราดื่ม! พาไปรู้จักทุกขั้นตอนการผลิตเบียร์แบบเข้าใจง่าย

How to brew beer – illustrated brewing equipment with vintage industrial style, including fermenters, kettles, and a glass of beer.

กว่าจะเป็นเบียร์ให้เราดื่ม! พาไปรู้จักทุกขั้นตอนการผลิตเบียร์แบบเข้าใจง่าย

เบียร์อาจดูเป็นเครื่องดื่มที่ซับซ้อน แต่จริง ๆ แล้วขั้นตอนการทำเบียร์นั้นเข้าใจได้ง่ายและสนุกมาก ถ้าเรารู้จักวัตถุดิบหลัก 4 อย่างคือน้ำ มอลต์ ฮ๊อปส์ และยีสต์ ก็เรียกได้ว่าเริ่มต้นถูกทางแล้ว

เริ่มจากการบดมอลต์ก่อนเลย เราไม่ต้องบดจนละเอียดเหมือนกาแฟนะ แค่ให้เมล็ดแตกพอประมาณ เพื่อให้เอ็นไซม์ในเปลือกทำงานได้ง่ายขึ้น ใครมีเครื่องบดก็สะดวกหน่อย แต่ถ้าไม่มี ใช้ครกกับสากแบบบ้าน ๆ ก็ยังพอไหวอยู่

จากนั้นก็นำน้ำที่อุ่นประมาณ 60–70°C มาเทใส่รวมกับมอลต์บด อุณหภูมิระดับนี้จะช่วยให้เอ็นไซม์เปลี่ยนแป้งในมอลต์ให้กลายเป็นน้ำตาล ซึ่งน้ำตาลนี่แหละคือของโปรดของยีสต์ ขั้นตอนนี้เรียกว่า “แมชช์” และจะใช้เวลาประมาณหนึ่งชั่วโมง เราจะวัดค่าความเข้มข้นของน้ำตาลในช่วงนี้เรียกว่า OG (Original Gravity) เพื่อเอาไว้เทียบตอนท้ายว่าแอลกอฮอล์ที่ได้อยู่ที่ระดับไหน

หลังจากนั้นก็กรองเอากากมอลต์ออก เราจะได้น้ำหวานที่เรียกว่า เวิร์ท (Wort) แล้วเอาเวิร์ทไปต้มให้เดือด โดยจะใส่ฮ๊อปส์ลงไปด้วย ฮ๊อปส์มีทั้งแบบให้ความขม ซึ่งใส่ตอนต้น และแบบให้กลิ่นหอมซึ่งใส่ช่วงท้าย ถ้าอยากให้เบียร์ขมมากหน่อยก็ต้มฮ๊อปส์นานขึ้น อยากให้หอมสดชื่นก็ใส่ตอนท้าย ๆ สั้น ๆ พอ

เมื่อต้มเสร็จ ต้องรีบลดอุณหภูมิน้ำเวิร์ทให้เหมาะกับยีสต์ ถ้าใช้ยีสต์เอลก็ควรอยู่ที่ประมาณ 18–22°C ส่วนถ้าเป็นยีสต์ลาเกอร์จะเย็นกว่านิด ประมาณ 10–15°C พออุณหภูมิได้ที่แล้วก็ใส่ยีสต์ลงไปเลย

ตั้งแต่ขั้นตอนนี้ไป ความสะอาดคือสิ่งสำคัญที่สุด ถังหมักต้องสะอาด ไม่มีเชื้อโรคปนเปื้อน เพราะยีสต์จะเริ่มทำงาน เปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นแอลกอฮอล์และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แล้วเราจะเห็นฟองอากาศออกมาผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า แอร์ล็อก (Airlock) ซึ่งจะไม่ให้อากาศภายนอกเข้าไปในถัง

ระหว่างการหมัก ค่าน้ำตาลจะค่อย ๆ ลดลง ถ้าวัดจนได้ค่า FG (Final Gravity) ที่ต้องการ ก็แปลว่าหมักเสร็จเรียบร้อย พร้อมเข้าสู่ขั้นตอนสุดท้ายคือการบรรจุ

ขั้นตอนนี้ก็ต้องระวังเรื่องความสะอาดเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นขวด ฝา หรืออุปกรณ์ทุกอย่างต้องผ่านการฆ่าเชื้อหมด เพื่อให้เบียร์ออกมาดี ไม่มีรสแปลกหรือกลิ่นผิดปกติ

สุดท้าย เมื่อบรรจุเสร็จ เบียร์ก็พร้อมดื่มในแบบที่เราตั้งใจจะสร้างมันขึ้นมาเอง และถ้าใครอยากลองเล่นกับสูตรใหม่ ๆ ก็สามารถเติมอะไรเข้าไปเพิ่มเติม หรือปรับเวลาและปริมาณแต่ละส่วนให้ได้สไตล์ที่ตัวเองชอบได้เลย


เรียบเรียงโดย: Nuttorn Wongpoom


🍺 อยากเริ่มลองดื่มคราฟต์เบียร์ดูบ้างไหม?

หลังจากที่รู้ขั้นตอนการทำเบียร์แล้ว ถ้าอยากเริ่มต้นลองดื่มเบียร์ดี ๆ ดูบ้าง เราขอแนะนำเซทเบียร์สำหรับมือใหม่ที่เราคัดมาให้ดื่มง่าย หลากหลายสไตล์ เหมาะกับการเริ่มต้นเป็นที่สุด

🍺 เซทเริ่มต้น 6 ขวด

เซทเบียร์นำเข้า 6 ขวด ที่ทีมงานของเราเลือกมาให้อย่างดี รสชาตินุ่มนวล ดื่มง่าย เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น

ราคา: 999 บาท

ดูรายละเอียด & สั่งซื้อ

🍺 เซทเริ่มต้น 12 ขวด

เซทเบียร์นำเข้า 12 ขวด คัดมาเป็นพิเศษ หลากหลายสไตล์ ดื่มง่าย เหมาะกับผู้ที่อยากลองแบบครบ ๆ

ราคา: 1,999 บาท

ดูรายละเอียด & สั่งซื้อ

🍻 เบียร์ทั้งหมดของเรา

ยังมีเบียร์อีกหลายแบรนด์และหลายสไตล์ให้คุณได้ลองอีกเพียบ

ดูเบียร์ทั้งหมด
กลับไปยังบล็อก

แสดงความคิดเห็น

คุณอาจจะชอบ